ดนตรีสายเขียวที่สะท้อนความขัดแย้งในสังคม

สิ่งที่เรานึกถึงเมื่อพูดถึงจาเมกานอกจากจะเป็นประเทศแห่งนักวิ่งโอลิมปิกระดับโลกและบ้านเกิดของบ็อบมาร์เลย์ (Bob Marley) ศิลปินระดับตำนานแล้วที่นี่ยังเป็นต้นกำเนิดของแนวดนตรีมากมายที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบันโดยแนวดนตรีที่ถือกำเนินขึ้นที่เกาะแห่งนี้มีด้วยกันถึง 6 ประเภทได้แก่เมนโต (mento), สกา, ร็อกสเตดี (rocksteady), ดั๊บ (dub), แดนซ์ฮอลล์และเร็กเก้แนวเพลงที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 1960 และยังเป็นที่นิยมจนถึงทุกวันนี้

นอกจากตัวดนตรีแล้ว วัฒนธรรม และแฟชั่นที่เกี่ยวข้องกับเพลงเร็กเก้อย่างการถักผมเดร็ดล็อค การสวมใส่เสื้อผ้าหรือประดับร่างกายด้วยสีเขียว-เหลือง-แดง หรือ การแสดงออกถึงความนิยมชมชอบพืชสมุนไพรกัญชา จนเรียกกันว่าเพลงสายเขียวนั่นเอง

เนื้อหาของเพลงเร็กเก้มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ปัญหาทางการเมือง การจำคุก และความเหลื่อมล้ำ เรียกได้ว่าเป็น ‘เพลงเพื่อชีวิต’ ของคนผิวดำเลยก็ว่าได้ ถึงขนาดที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียน “ดนตรีเร็กเก้” เป็นมรดกโลกและนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของรากเหง้าทางสังคมของชาวจาเมกา ในการขับเคลื่อนพลวัตทางสังคมในหลายประเด็น ทั้งความไม่ยุติธรรม การต่อต้าน ความรัก มนุษยธรรม การเมืองและจิตวิญญาณ ที่สามารถเข้าถึงชุมชนได้ทั่วทุกมุมโลก

ดนตรีเรกเก้ยังเป็นที่นิยมในบ้านเรามาหลายทศวรรษมีศิลปินทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่นำดนตรีเรกเก้มาสร้างสรรค์ให้สนุกสนานฟังง่ายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นวง Srirajah Rockers, Job 2 Do, T-Bone, Kai-Jo Brothers และ Mocca Garden เป็นต้น