MOLAM IS THE NEW BLACK!
วัฒนธรรม,ดนตรี และหมอลำ Molam ร่วมสมัยที่กลายเป็นเพลงทรงอิทธิพลในฝั่งตะวันตก
เพลงไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ประเทศไทยมีเพลงต้นฉบับที่น่าสนใจมากมาย และหนึ่งในนั้นคือเพลงหมอลำที่เป็นที่นิยมในปี 60s และ 70s หรือเรียกว่ายุคทอง ซึ่งกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งทั้งกับคนไทยและต่างชาติที่ต่างสะสมแผ่นเสียงทั้งหมอลำ ลูกทุ่ง และ ลูกกรุงในยุคนั้นเพื่อนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและดนตรีในรูปแบบต่างๆ ทำให้เราเห็นว่าดนตรีสามารถก้าวข้ามทุกกำแพงของภาษา และยังเชื่อมวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าด้วยกัน
หมอลำ มีต้นกำเนิดมาจากดนตรีพื้นบ้านในชนบทที่ได้สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น จนกระทั่งในช่วงปี 60s จนถึง 80s หมอลำก็ได้วิวัฒนาการไปเป็นดนตรีร็อกซึ่งอัดแน่นไปด้วยแนวดนตรีสากลอย่างไซคีเดลิก,โซล และ ฟังก์อย่างเต็มที่ หลายๆ เพลงมีกลิ่นอายของเจ้าพ่อเพลงฟังก์อย่างเจมส์ บราวน์ (James Brown) หรือจะไปแนวร็อกแบบ The Rolling Stone เลยก็มี
หมอลำเปรียบเสมือนเพลงแจ๊สในฝั่งตะวันตกที่มีการอิมโพรไวส์หรือการด้นสดเป็นส่วนประกอบหลัก มีพื้นที่ให้คนมาแจมกันเป็นส่วนหนึ่งกับเสียงเพลง และยังสามารถแตกแขนงแนวเพลงออกอีกหลายประเภท อย่างในทุกวันนี้วงดนตรีไทยสมัยใหม่ได้นำหมอลำมาผสมกับดนตรีหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็นวง ‘ตุ้มเติ่น หมอลำ กรุ๊ป’ หมอลำร็อค, ‘The Paradise Bangkok Molam International Band’ หมอลำฟังก์, ‘Apichat Pakwan’ หมอลำอิเล็กโทร, ‘รัสมี’ หมอลำบลู-โซล หรือหมอลำเรกเก้ หมอลำฮิปฮอปก็มีเช่นกัน ถึงพวกเขาจะทำให้หมอลำร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังคงความออริจินัลและวัฒนธรรมไทย พร้อมเสน่ห์และการแสดงสดที่มีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยจิตวิญญาณที่ต้องใช้ใจฟัง แล้วคุณจะ‘ม่วนคัก ๆ’สนุกสุดเหวี่ยงไปพร้อมกับพวกเขา

ตุ้มเติ่น หมอลำ กรุ๊ป
วงดนตรีพื้นบ้านอิสานหมอลำร็อค ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักดนตรีพื้นบ้านอิสานที่หลงไหลในเสียงเพลงหมอลำช่วงปี 60s และ 70s พวกเขาได้นำเอาบทเพลงหมอลำ เพลงพื้นบ้านอิสานมาร้อยเรียงบรรเลงด้วยเสียงพิณเสียงแคนและจังหวะในแบบฉบับ “ตุ้มเติ่น” หมายถึง บรรยากาศของความ”ม่วน”ที่เกิดจากเสียงของเสียงกลองตุ้มและกลองยาวเมื่อสอดประสานกันจะเกิดจังหวะแห่งความสนุก เราอยากแนะนำให้ได้ดูพวกเขาเล่นดนตรีสดสักครั้ง เพราะม่วนคักๆจริงๆ สามารถติดตามได้ที่ร้าน Studio Lam (สตูดิโอลำ) ในซอยสุขุมวิท 51 ที่ตุ้มเติ่นหมอลำกรุ๊ปเล่นประจำอยู่ที่นี่ คุณจะเต้นกันแบบไม่ลืมหูลืมตากันเลยทีเดียว

The Paradise Bangkok Molam International Band (สวรรค์บางกอก)
วงหมอลำร่วมสมัยที่นำหมอลำและฟังก์มาผสมรวมกันได้อย่างกลมกล่อม เพลงส่วนใหญ่ของวงมักจะอิมโพรไวส์เป็นหลักหรือมีแรงบันดาลใจเบื้องหลังทุกเพลงและเป็นเพลงบรรเลงทั้งหมด เพลงของพวกเขาได้รับการยอมรับและการันตีด้วยรางวัลมากมายจากสื่อทั่วโลก แถมยังได้ไปเล่นสดทั่วยุโยป รวมถึงเฟสติวัลระดับโลกอย่าง Glastonbury มาแล้ว จุดเริ่มต้นของวงนี้เกิดจากการที่ดีเจ มาฟต์ ไซ (DJ Maft Sai) เจ้าของค่ายและเจ้าของร้านแผ่นเสียง สุดแรงม้า (ZudRangMa Records) ที่มักจะเปิดแผ่นหมอลำ ลูกทุ่งยุค 60s 70s 80s ในงานปาร์ตี้ต่างๆ จนเกิดเป็นเทศกาลดนตรีสไตล์ไทยที่ชื่อว่า Paradise Bangkok จากการเดินสายจัดงานเทศกาลนี้นี่เองจึงทำให้เขาได้พบกับนักดนตรีฝีมือดีมากมายที่นอกจากจะชื่นชอบแนวเพลงคล้ายกันแล้ว ยังมีอุดมการณ์เหมือนกันคือ ต้องการอนุรักษ์และเผยแพร่ดนตรีพื้นบ้านให้ทั่วโลกได้รู้ว่า เพลงไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก นำมาสู่การก่อตั้ง The Paradise Bangkok Molam International Band วงหมอลำขวัญใจชาวต่างชาติในทุกวันนี้ และพวกเขาได้ออกอัลบั้มมาแล้วถึงสองอัลบั้ม นั่นก็คือ 21st Century Molam (2014) และ Planet Lam (2016)
Recommend songs:
Lam San Disco (ลำสั้นดิสโก้) – The Paradise Bangkok Molam International Band https://open.spotify.com/track/0DLu652xb3OsWXjgwMdnSy?si=ssiq2iBgS02H0RYxuhDpEw
The Adventure of Sinsai – The Paradise Bangkok Molam International Band https://open.spotify.com/track/5gxbRuzrRHlHBpmRhR4x1V?si=t_5CxSCUQJeOsrtwcrzRoA

Rasmee (รัสมี อิสาน โซล)
ศิลปินแนวโซลที่นำดนตรีอิสานมาผสมในเพลง กับเพลงที่คุ้นหูหลายๆคนอย่างเพลง “มายา” และ “เมืองชุดดำ” ในอัลบั้ม Isan Soul และเพลง “อย่าให้เด้” ที่ได้ Srirajah Rockers มาร่วมสร้างสรรค์เพลงด้วย ด้วยเสียงร้องทั้งในภาษาเขมร, ลาว, ไทย, และภาษาอังกฤษ ที่ตราตรึงใจเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณ ทำให้เวลาหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ผสมผสานกับหมอลำ จังหวะแบบบลู และโซล เธอเปรียบเสมือน Billie Holiday ในแบบฉบับหมอลำร่วมสมัย เสียงร้องของเธอเปรียบได้กับเครื่องดนตรีที่กำลังเล่นโซโลอยู่และเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ที่ทำให้เราขนลุกได้ทุกเมื่อ
Recommend songs:
Maya (มายา) – Rasmee https://open.spotify.com/track/44zsGrf7hEgCDvikFhadIh?si=6sZxkLj3QKe-ORW0rfgDOg
Don’t Cry (อย่าให้เด้) – Rasmee feat. Srirajah Rockers https://open.spotify.com/track/4boRAvNx8qllCkSZ9cQEwk?si=VICYjwsMQEixC53B_cjYnQ

Apichat Pakwan (อภิชาติ ปากหวาน)
วงหมอลำอิเล็กโทร (Esantronic) เกิดจากการรวมตัวกันของ Olivier Shreuder โปรดิวเซอร์ฮิปฮอปเร็กเก้จากเนเธอร์แลนด์ที่มีความสนใจและหลงรักในเสียงอีสานหมอลำ ร่วมกันกับนักดนตรีพื้นบ้านอีกหลายคน โดยนำเอกลักษณ์ของหมอลำและการขับร้องแบบลูกทุ่งไทยอีสานรวมเข้ากับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิก ส่วนผสมสองอย่างนี้ทำให้เกิดรสชาติใหม่ทางดนตรีที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์และน่าค้นหา ทำให้เพลงอิเล็กทรอนิกมีชั้นเชิงและกลิ่นอายพื้นบ้านที่ทำให้อยากลุกขึ้นมาเซิ้งทันทีเลย
Recommend songs:
Lam They Pasom – Apichat Pakwan https://open.spotify.com/track/3akesoZSiWztAufI7FIODZ?si=Xmilfg7lSGW26hBBrZoXQg
Angkanand – Apichat Pakwan https://open.spotify.com/track/7aTS5r5fKCZO4OGCgN3MsZ?si=-dpMBri5RRuHlbTKYQF3hg
ถึงแม้ว่าหลายๆคนยังไม่คุ้ยชินกับเพลงหมอลำนัก แต่เราอยากให้คุณเปิดใจและลองฟังมันด้วยใจ เพราะเพลงไทยเราไม่แพ้เพลงแจ๊ส โซล หรือ ป๊อปของสากลเลย หรือจะมาเปิดประสบการณ์ฟังเพลงหมอลำโดยการฟังดนตรีสดเสพบรรยากาศไทยๆ พร้อมยาดองกรุบกริบก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้าน Studio Lam, เทพย์บาร์ และ เสพย์บาร์ ลองแล้วจะติดใจ!
ซื้อสินค้าเราได้ที่ : https://gadhouse.com/shop