ถึงแม้ว่าหัวเข็มจะเป็นส่วนที่เล็กที่สุดในเครื่องเล่นแผ่นเสียง แต่จริง ๆ แล้วหัวเข็มเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องเล่นแผ่นเสียงเลยก็ว่าได้ หากเราขยายกล้องไมโครสโคปไปดูใกล้ ๆ จะเห็นเลยว่าหัวเข็มจะเป็นส่วนที่ถูกวิ่งไปตามร่องรอยหยักของแผ่นเสียง พอปลายหัวเข็มขูดลงไปในร่องก็จะเกิดการสั่นสะเทือนของก้านเข็มตามลักษณะของร่องแผ่นเสียง จากนั้นก็มีหน้าที่รับการสั่นสะเทือนนั่นมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ก่อนจะนำไปขยายเสียงให้ดังขึ้นนั่นเอง หัวเข็มจึงเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะต้องสัมผัสกับแผ่นเสียงโดยตรง และรับหน้าที่หลักในการอ่านร่องแผ่นเสียงนั่นเอง โดยหัวเข็มที่ทำมาจากวัสดุต่างกันก็จะมีหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ต่างกันออกไป ใน Vinyl 101 Gadhouse เลยจะขอหยิบยกหัวเข็มมาแนะนำให้เพื่อน ๆ มือใหม่กันทั้งหมด 3 ชนิดที่พบได้บ่อยอย่างหัวเข็มแบบเซรามิก (Ceramic Cartridge) หัวเข็มแม่เหล็ก MM (Moving Magnet) และหัวเข็มแบบขดลวด MC (Moving Coil)
1. หัวเข็มเซรามิก (Ceramic Cartridge)
นับเป็นหัวเข็มที่พบเจอได้บ่อย และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีเซรามิกเป็นวัสดุหลักในการนำเสียง อีกทั้งยังใช้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง Brad อีกด้วย หลักการทำงานของหัวเข็มชนิดนี้คือจะใช้การสั่นสะเทือนจากปลายเข็มตามร่องแผ่นเสียงแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า และนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ไปเข้าวงจรขยายเป็นเสียงออกไปยังลำโพง ซึ่งหัวเข็มเซรามิกนี้นอกจากจะดูแลรักษาง่ายกว่าชนิดอื่น ๆ แล้ว ยังให้เสียงที่ดีอีกด้วย

2. หัวเข็มแม่เหล็ก MM (Moving Magnet)
หัวเข็มแม่เหล็กเป็นหัวเข็มที่นิยมเล่นกันมาก เพราะมีอยู่ในหลายระดับราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงระดับหลายพันบาท ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ SHURE, TECHNICS หรือ AUDIO TECHNICA ที่ใช้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง Dean และ Henry ที่เป็นที่นิยมก็เพราะว่าหัวเข็มชนิดนี้สามารถให้ Output ได้แรงกว่า มีประสิทธิภาพในการเกาะร่องแผ่นเสียงได้ดีกว่า และยังให้เสียงได้ดีกว่าหัวเข็มแบบเซเรมิก แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามประสิทธิภาพเช่นกัน

3. หัวเข็มแบบขดลวด MC (Moving Coil)
หัวเข็มแบบขดลวด MC เป็นหัวเข็มที่มีหลักการทำงานคล้ายกับหัวเข็มแบบแม่เหล็ก เพียงแต่กลับกันโดยให้แม่เหล็กอยู่ในตำแหน่งคงที่ และให้ขดลวดเป็นส่วนเคลื่อนที่ โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักมากกว่าหัวเข็มแบบแม่เหล็กทำให้มีเสียงที่ดีกว่า อ่านร่องความละเอียดของแผ่นเสียงได้ดีกว่า แต่มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหัวเข็มแบบแม่เหล็ก

เคล็ดลับการเลือก และดูแลหัวเข็ม
สิ่งที่สำคัญเลยก็คือชนิดของหัวเข็มต้องแมทช์กับตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียง หากไม่แมทช์กันแล้วก็จะไม่ได้เสียงที่ดีตามต้องการ อีกทั้งหัวเข็มแต่ละชนิดให้บุกลิคของเสียงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากสนใจหัวเข็มรุ่นไหนแล้วให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจจะได้ฟังเพลงเสียงดี ๆ อย่างสบายใจ รวมถึงถ้าอยากใช้หัวเข็มโปรดไปได้นาน ๆ ก็ต้องหมั่นดูแลรักษากันหน่อย
ระยะการใช้งานของหัวเข็ม
โดยส่วนใหญ่แล้วระยะการใช้งานของเข็มนั้นประมาณ 1,000 ชั่วโมง หากใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงโดยเฉลี่ยประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อวัน ควรเปลี่ยนเข็มทุก 2-3 ปี แต่ที่สำคัญคืออายุการใช้งานของเข็มนั้นขึ้นอยู่กับวิธีดูแลรักษาด้วย

วิธีการดูแลรักษาหัวเข็ม
วิธีดูแลรักษา ก่อนและหลังเล่นแผ่นเสียงควรทำความสะอาดเข็มทุกครั้ง เพียงแค่ใช้แปรงสีฟันที่ไม่ใช้แล้วมาปัดบริเวณเข็มอย่างเบามือ และวางเข็มบนแผ่นไวนิลอย่างเบามือ หลีกเลี่ยงการขูดหรือวางแรงๆ เพราะไม่เพียงทำให้เข็มสึกแล้ว ยังทำให้แผ่นเป็นรอยอีกด้วย และถ้าได้ยินเสียงอู้อี้ เสียงเพี้ยนๆ หรือเข็มกระโดดออกจากร่องแผ่นเสียงเมื่อไหร่ แปลว่าถึงเวลาที่จะต้องบอกลาเข็มเสียแล้ว ถ้าใช้ต่อไปแผ่นยิ่งเสียหาย เสียงยิ่งติดขัด ทางทีดีควรเปลี่ยนเข็ม และที่สำคัญคือหัวเข็มต้องแมทช์กับเครื่องเล่นด้วยนะ

นอกจากวิธีการเลือกแผ่นเสียงแล้ว Gadhouse ยังมีอีกหลากหลายบทความ ที่จะพาผู้อ่านทุกท่านสนุกไปกับโลกของแผ่นเสียงไปด้วยกัน แล้วพบกับเราได้ ที่ GADHOUSE VINYL 101 SERIES