DJ Mighty NP & Kandi Kev

เริ่มสนใจดนตรีและดีเจเมื่อไหร่ ? อะไรคือแรงบันดาลใจ ?

Mighty: เท่าที่จำความได้ พี่ชายผมชอบเปิดเพลงฮิปฮอปกัน เวลาขับรถไปเล่นบาสที่หมู่บ้าน หมู่บ้านปัญญาช่วงตอนเย็น ๆ หลังเลิกเรียนครับ มันเป็นบรรยากาศที่ฟิวสุดละ และผมเริ่มสนใจฮิปฮอปเองจริง ๆ ก็ประมาณช่วงปี 2000 ครับ จำได้ว่ามีวันที่หยิบซีดีของพี่มานั่งไล่ฟังว่าชอบอันไหนสุด คืออัลบั้ม Dr.Dre 2001 และช่วงโปรเจค T-Hop ซึ่งเป็นโปรเจค compilation รวมตัวศิลปินไทยฮิปฮอปยุค 2000 ตอนนั้นพี่ชายผมเองลีโอกลับมาจากอเมริกาเพื่อมาร่วมงานโปรดิวซ์ให้กับ Dujada กับเพลง ‘ไทยเก๊ก’ ครับ ในช่วงเวลาว่างหลังเลิกเรียนตอนนั้น ผมจะแวะไปดูพี่เขาทำเพลงกันในห้องสตูดิโอห้องอัด พี่ซิก (Rock Acedemy) ซึ่งอยู่ในตึกสมาคมคนบอด สตูดิโอก็อยู่ข้าง ๆ ห้องซ้อมดนตรีคนตาบอดเลย บรรยากาศในสตูดิโอและกระบวนการทำงานนั้นได้เหมือนเปิดโลกใหม่ให้ผมเลย 

 

หลังจากได้ดูพี่ ๆ เขาเขียน rhyme และอัดเพลง จนถึงการมิกซ์ ทำบีท sample จากแผ่นเสียงลงเครื่อง drum machine/sampler Akai MPC มันเหมือนนักวิทยาศาสตร์ทำงานกันอยู่ในแล็บ จนผมเองก็จำและหัดฝึกหัดเองตอนได้ไปเรียนต่อที่อเมริกาช่วงปี 2004 ได้จับแผ่นเสียงที่ฝึกสแครชและมิกซ์ คือแผ่น Superseal คู่กับ Superduckbreaks ครับ นั่งอยู่ในห้องทั้งวัน ซึ่งตอนนั้นที่ฝึกเองคือสังเกตและจำเอา จำเสียงสแครชของ Dj Premier, Dj Q-bert จำจากเพลง จำจากอีเว้นท์ที่เราได้ไปเห็นดีเจเขาเล่น และก็ดูวิดิโอของ Dj Battle ของ ISP Invisible Skratch picklez ครั้งที่อยู่ไทยก็ได้เห็นพี่เต้ง Spydamonkee พอได้ไปอเมริกาก็ได้มีโอกาสดู Dj Shortkut และดีเจท้องถิ่นชาวฟิลิปิน ญี่ปุ่น และอเมริกันใน San Francisco

ดีเจเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป แล้วฮิปฮอปมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง ?

Mighty: สำหรับผม ฮิปฮอปสอนให้รู้จักนิยามคำว่า ‘dope’ กับ ‘wack’ สอนให้ผมสามารถแยกแยะได้ดีเหมือน yin กับ yang 

 

นักดนตรีกับโปรดิวเซอร์มีวิธีการทำงานต่างกันอย่างไร ?

Kevin: สำหรับผมแล้วการเป็นโปรดิวเซอร์ คือ คนที่เข้าใจในตัวของค่ายและศิลปิน คนที่สามารถช่วยดูแลเรื่องโปรดักชั่น รวมไปจนถึงงบของโปรเจคนั้น ๆ จริง ๆ แล้วการที่เราจะเป็นโปรดิวเซอร์โดยที่จ้างให้นักดนตรีมาเล่นให้ จ้างมือเรียบเรียงเพลง จ้างคนเขียนเนื้อเพลง จ้างมือมิกส์ จ้างมือมาสเตอร์ริ่ง หรือหาห้องอัดที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลย แต่ถ้าตัวโปรดิวเซอร์เองนั้นมีความสามารถในด้านดนตรีด้วยแล้วนั้น ก็สามารถที่จะเลือกที่จะไม่ต้องจ้างบางตำแหน่งและทำด้วยตัวเองได้อันนี้ก็แล้วแต่ตัวของโปรดิวเซอร์แต่ละคนครับ

 

ส่วนตัวของผมนั้น ในวัยเด็กของผมนอกจากการเรียนเปียโนแล้วที่บ้านก็ยังมีเครื่องอิเล็กโทนที่มีเสียงต่าง ๆ และยังเล่นกีต้า, เบส, กลองชุด และเครื่องเป่าต่าง ๆ เช่น แซ็กโซโฟน คลาริเน็ต เลยทำให้สนใจเรื่ององค์ประกอบต่าง ๆ ของเพลง และประกอบกับการชอบฟังเพลงหลากหลายแนวตั้งแต่เด็ก ช่วงมัธยมปลายผมได้มีโอกาสโปรดิวซ์เพลงเองร่วมกับเพื่อน ๆ 2-3 เพลง โดยทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์, เรียบเรียง และ นักเปียโน และยังทำต่อเรื่อย ๆ มาจนถึงช่วงมหาวิทยาลัย ก็ได้ทำงานเป็นนักดนตรีอาชีพออกทัวกับศิลปินต่าง ๆ ทำให้ได้เริ่มจากการเป็นนักดนตรีห้องอัดและเรียบเรียงเพลง พอช่วงปลายของมหาลัยได้มีโอกาสได้เป็นผู้ช่วยโปรดิวเซอร์และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้มาเป็นโปรดิวเซอร์อย่างเต็มตัว ถึงผมจะหยุดการทัวคอนเสิร์ตกับตัวศิลปินที่ผมทำเพลงให้มาสักพักนึงแล้ว แต่ผมก็ยังทำหน้าที่เป็นนักดนตรีอัดเสียงให้กับเพลงที่ผมโปรดิวซ์ให้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น เปียโน คีย์บอร์ด ซินธิไซเซอร์ กีต้า เบส กลอง เพอคัสชั่น เครื่องไหนที่ผมเห็นว่าถ้าผมจะเล่นลงไปแล้วเหมาะสมกับเพลงนั้น ๆ ผมก็ยังสนุกที่จะทำมันอยู่ในทุก ๆ วันครับ

       

ส่วนการเล่นคอนเสิร์ตนั้น ผมยอมรับว่าตอนนี้ผมคิดถึงมันมาก ๆ เพราะหนึ่งในอาชีพที่ผมชอบอาชีพหนึ่งเลยคือ Music Driector ที่เป็นผู้ร่วมเล่นกับวงด้วยจริง ๆ มันสนุกสุด ๆ เลยยิ่งคนที่เลือกมาเล่นด้วยกันเป็นเพื่อน ๆ ที่รู้ใจกันมาตั้งแต่เด็ก

 

นี้คือมุมของผมกับคำถามนี้หวังว่าทุกคนจะเข้าใจเรื่องของการเป็นโปรดิวเซอร์มากขึ้น ถ้าอยากจะติดตามผลงานของผมต่อเข้าไปดูได้ใน IG: Redclaystudio และ IG: Redclayrecordings ตอนนี้ผมได้เปิดค่ายเพลงและสตูดิโอเป็นของตัวเอง เพื่อน ๆ ใครที่สนใจผมงาน หรืออยากจะเข้ามาทำงานกับผม ติดต่อเข้ามากันได้เลยครับ

Kandi Kev

ในมุมมองของดีเจและ producer คิดว่าการทำเพลงและฟังเพลงในแบบอะนาล็อก (ฟังแผ่นเสียง/เครื่องดนตรี) กับสตรีมมิ่งดิจิตอลต่างกันอย่างไร ?

 

Kevin: ส่วนการฟังพลงนั้น การฟังเพลงแบบแผ่นเสียงหรือ Steaming สำหรับผมนั้นคล้าย ๆ กันเพราะแผ่นเสียงก็มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองในแต่ละช่วงปี การพิมแผ่นในแบบต่าง ๆ แผ่นขนาดต่าง ๆ หรือการเล่นแผ่นในความเร็วต่างๆล้วนส่งผลต่อเสียงที่ออกมาทั้งนั้น เหมือนกับระบบ Steaming ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละบริษัทหรือผู้ให้บริการนั้นมีการจัดการไฟล์เสียงต่างกัน ทำให้เพลงที่ถูกทำขึ้นมานั้นพอเข้าไปอยู่ในแพลทฟอร์มต่าง ๆ แล้วเสียงแตกต่างกันออกไป สำหรับผมแล้วนั้นยังไม่มีอะไรมาแทนกันได้ แล้วแต่ผู้ฟังว่าอยากจะได้ยินเพลงนี้จากที่มาไหน

 

ส่วนการไปหาฟังนั้น แบบแผ่นเสียงจะลำบากกว่าสำหรับสมัยนี้เพราะว่าการเข้าถึงแผ่นเสียงในบางประเทศนั้นยากมากเช่นประเทศไทย แต่พอมีเทคโนโลยีใหม่หรือการ Steaming เกิดขึ้นมาทำให้ผู้ฟังเข้าไปเลือกรับฟังได้ง่ายขึ้นมาก

 

สำหรับผมชอบเลือกฟังเพลงโดยจับคู่เครื่องเสียงให้ตรงกับยุค เช่นถ้าคุณมีลำโพงยุค 70’s สักตัวแล้วลองเอาไปจับคู่ฟังกับแผ่นเสียงของยุค 60’s-70’s ก็จะทำให้ได้อารมณ์ไปอีกแบบเพราะลำโพงยุคใหม่ ๆ นั้นจะมีเสียงเบสและเสียงแหลมมากว่าลำโพงยุคก่อนๆอยู่มาก ทำให้คนยุคก่อนนั้นไม่ได้จัดการเสียงได้เหมือนกับสมัยนี้ อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวของผมนะครับ ส่วนใครชอบแบบไหนก็ลองไปเลือกลองและหาฟังกันได้ครับ



ช่วยนิยามสไตล์เพลงของคุณได้เราฟังหน่อยได้ไหม อะไรคือสไตล์ที่แท้จริงของคุณ?

Mighty: หลัก ๆ ผมชอบ vibe แนว Oldschool เพลงที่ทำให้รู้สึก feel good ครับ ตั้ง Commercial Top 40 ไปจนถึง Underground แต่ถ้าเวลาผมหาแผ่นเสียงจะค่อนข้างเน้นเป็นอีกแบบ เน้นหา selection ที่มีซาวด์เสียงดนตรีต่าง ๆ ของ Loops Drum breaks, Keys, Bass line ในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนมาเก็บไว้เพื่อต่อยอดต่อไปใน music production หรือ DJ ครับ

 

เริ่มเข้ามาในวงการดีเจอย่างเต็มตัวได้ยังไง?

Mighty: ได้ลงสนามเปิดครั้งแรกที่ซานฟรานครับ ตอนนั้นประมาณช่วงปี 2007

ทุกเดือนวันอาทิตย์ผมจะได้ไปเปิดร้าน Adidas Shoebiz กับ FTC บน Haight Street ตอนนั้นขนยกลังแผ่นเสียงแนว Funk, Soul กับ Hip Hop ไปที่ร้าน และมีแจมกับศิลปินมาวาด street live painting บรรยากาศเป็นร้านสตรีทและร้านสเกต ฟิวดีและมันส์มากครับ ได้มีโอกาศเจอ Dj Q-bert เดินเข้ามาที่ร้านตอนเปิดก็งงไปเลยครับ

 

พอได้กลับมาไทยช่วง 2010 ก็ได้ร่วมกับวง Indikator ต่อ เป็นวง Soulful Hip-Hop / R&B มีพี่ Sinnamon / Mazzy(UK) / MIKE DJ LOW (US) / LEO / PING (MONOTONE) / SINGH (Sqweeze Animal) / KIRKY ซึ่งตอนนั้นวงเป็นส่วนหนึ่งของ Burin Granturismo กับ เพลง “ได้โปรดบอก” 

 

ต่อมาช่วงปี 2015 ผมได้เริ่มขายแผ่นเสียง Kratewzie Records ร่วมงานกับ Flea market ต่าง ๆ จนถึงปี 2017 ได้ไปร่วมงาน Record Show ที่โตเกียว ณ RYOGOKU RECORD SHOW กับ Shimokitazawa Record Market เป็น 2 ครั้ง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ได้ไปสัมผัส Japanese Hip Hop scence ญี่ปุ่นที่ยัง diggin’ in the crates สะสมแผ่นและเล่นแผ่นเสียงกันอยู่ ได้เจอตำนานอย่าง Maseo (De la soul), Dj Koco, Dj Sarasa ที่เป็นแรงบันดาลใจของแฟน​ ๆ Hip Hop ญี่ปุ่น เป็นประสบการณ์ที่ทำให้ผมรับรู้ว่าดีเจมีบทบาทต่อร้านแผ่นเสียงมากแค่ไหน และร้านแผ่นเสียงให้คุณค่ากับดีเจมากแค่ไหน และ CD Mixtape ยังเป็นตัวขับเคลื่อน Vinyl Culture อยู่เหมือนกัน

RYOGOKU RECORD SHOW, Tokyo

ในมุมมองของดีเจและโปรดิวซ์เซอร์ คิดว่าการทำเพลงและฟังเพลงในแบบอะนาล็อก (ฟังแผ่นเสียง/เครื่องดนตรี) กับ สตรีมมิ่ง ดิจิตอลต่างกันอย่างไร ?

Mighty: เรื่องรายละเอียดของคุณภาพเสียงต่างกันอย่างชัดเจนครับ แบบอะนาล็อก ความดังของเพลงที่ไม่รู้สึกบาดหู และรายละเอียดภาพที่ชัดและมีมิติกว่า มันทำให้ได้ฟิลลิ่งที่ดีกว่า เปรียบเทียบเหมือนเวฟข้าวกินเองกับให้เชฟทำให้ที่ร้าน กลิ่นกับความสดของวัตถุดิบมันต่างกัน

 

ในขบวนการทำเพลงก็เช่นกันครับ เสน่ห์ของแผ่นเสียงทำให้เราย้อนกลับไปศึกษาประวัติเรื่องราวที่มาที่ไปของซาว์ด วิธีการเล่นและอัด เทคนิคต่าง ๆ ของ sound engineer และ producer หรือรายละเอียดในปกแผ่นเสียงที่บอกถึงเครื่องดนตรีที่เขาใช้อัดกันยุคนั้น มันน่าทึ่งตรงที่เรายังรู้สึกดีกับซาวด์นั้นอยู่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน

คิดว่าดนตรีฮิปฮอปมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร ? แล้วชอบฮิปฮอปยุคไหนมากที่สุด ?

Mighty: ฮิปฮอปก็เป็นแรงบันดาลใจหนึ่งที่ให้คนรู้จัก express ตัวเอง เต็มไปด้วย creativity ครับ ไม่ว่าจะ Emcee, B-boy, DJ และ Graffiti ฮิปฮอปสร้างแรงบันดาลใจให้คนเห็นว่าเราสามารถสร้างอะไรใหม่ ๆ from nothing to something ครับ ซึ่งยุค 90s น่าจะเป็นยุค Golden Era ที่นำเสนอฮิปฮอปได้เข้มข้นที่สุดสำหรับผมครับ ณ ตอนนั้น Eastcoast vs. Westcoast Hip Hop แข่งกันทำเพลงเจ๋ง ๆ กันออกมา ซึ่งแตกสไตล์มามากมายเช่น Boombap, Backpack rap, Gangsta rap, G-Funk เป็นต้น

 

ใครเป็นศิลปิน, ดีเจในดวงใจ หรือ ไอดอลของเรา?

Mighty: DR.DRE, PETE ROCK, DJ PREMIER, J-DILLA, MADLIB, 9thWonder, EasyMobee, Dj Quik, Battlecat, ERIC LAU & Budgie 

 

แผ่นเสียงอั้ลบั้มที่ชอบ ?

Mighty: ตอนนี้คือแผ่นของวง XYZ, อัลบั้ม “คิดไม่ออก” เพลง “สายรุ้ง’26”



ศิลปะของการดีเจคืออะไร ?

Mighty: เปิดเพลงเพราะ ๆ ให้คนเต้น ให้คนฟังครับ

 

ทำยังไงถึงจะหาสไตล์ของตัวเองให้เจอ ?

Mighty: พยายามสังเกตสิ่งที่เราสนใจหรือชอบ ลองทำก่อน แล้วค่อยลองมานั่งทบทวนดู

 

ตอนนี้มีเป้าหมายอะไรเกี่ยวกับอาชีพดีเจบ้าง?

Mighty: เปิดเพลงเพราะ ๆให้คนเต้น ให้คนฟังครับ และก็หยอดกระปุกซื้อแผ่นเสียงต่อไปครับ 

 

เล่าให้ฟังถึงโปรเจคใหม่ The Fan ให้ฟังหน่อย

Mighty: ของวง The Fan นั้นเพิ่งได้ร่วมกับค่าย RedClay ครับ

จะมีกลิ่นความ Hip Hop, R&B, Funk, Soul, Gospel และ Jazz เต็มเครื่องเพื่อโยกแน่นอนครับ เป็นโปรเจครวมตัว Sinnamon (Rapper/singer) /Tabeazy (Rapper/singer) /KandiKev (Keys) / Yuu(Bass) / PrinceJelly(Drum) /Mighty NP(DJ).

วง The Fan

สุดท้าย อยากให้ฝากอะไรไปถึงน้องๆ รุ่นใหม่ที่มีความฝันอยากจะเป็นดีเจหน่อย

Mighty: เริ่มจากเพลงที่เราให้ความสนใจก่อนครับ และพัฒนาเพลย์ลิสนั้นไปเรื่อย ๆ เช่น จากเพลงที่ชอบ ติดตามโปรดิวเซอร์เพลงนั้น และติดตามโปรดิวเซอร์ของโปรดิวเซอร์อีกที น่าจะช่วยให้เรามีไอเดียในการจัดเซทของตัวเองมากขึ้น จนรู้สึกพร้อมและลองออกสนามไปเปิดให้คนฟังดูเลย