ทำไมราคาบัตรเทศกาลดนตรีถึงแพงขึ้น? เป็นคำถามที่ทั้งตัวเราเองและใครหลายๆ คนก็คงสงสัย แต่ทำไมเราถึงยอมจ่ายในเมื่อมันแพงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าจะลดลงมาเลย

ใน 20 ปีที่ผ่านมา เทศกาลดนตรีอย่าง Glastonbury, Reading and Leeds, Lollapalooza หรือ Coachella มีความนิยมมากขึ้น ซึ่งความนิยมมากขึ้นนี้ ทำให้ผู้จัดงานต้องเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก น้ำ ไฟ ที่พัก การจัดการจราจร การเดินทางเข้ามาในงาน แม้กระทั่งสัญญาณ Wi-Fi ทรัพยากรต่างๆ ที่ผู้ร่วมชมงานเหล่านี้ต้องการมากขึ้นทุกปี และโปรดักชั่นต่างๆ เช่น แสง สี เสียง ที่ต้องอลังการ ส่งผลถึงการจ้างแรงงานคนเพิ่ม นั่นหมายถึงราคาของต้นทุนที่ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-7cb774ff768ff25365c78ee17f9e3a41' }}

เทศกาลดนตรีนั้นดีสำหรับตัวศิลปินเสมอ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ เพราะว่าเป็นหนทางที่ศิลปินจะทำเงิน ได้ฐานผู้ฟังมากขึ้น จากการรวมศิลปินจำนวนมากมาไว้ในงานเดียว และได้โปรโมตตัวเองอีกด้วย อีกทั้งการเข้ามาของสตรีมมิ่งที่ทำให้ยอดขายแบบ physical records ลดลง การออกทัวร์จึงเป็นทางออกของศิลปินในยุคนี้

การติดต่อว่าจ้างศิลปินมาทำการแสดง ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศอังกฤษ ส่วนมากต้องผ่านโปรโมเตอร์ ซึ่งหลักๆ ก็จะมี 2 บริษัท คือ Live Nation และ AEG Live โดย 2 บริษัทนี้มีส่วนในการครอบครองตลาดของเทศกาลดนตรีมาก โปรโมเตอร์เหล่านี้ต้องการให้ศิลปินเล่นในเทศกาลที่ใหญ่กว่าและพร้อมที่จะให้เงินมากกว่าอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเทศกาลดนตรีเล็กๆจึงมักไม่ได้ไลน์อัพดีๆ ซักเท่าไหร่นัก ถ้าเงินไม่มากพอ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-a331b959ac772f4c8a66bca16411f03b' }}

การก้าวกระโดดของราคาบัตรเทศกาลดนตรีใหญ่ๆ ของอังกฤษอย่าง Glastonbury ในปี 1979 บัตรมีราคา 5 ปอนด์ แต่ในปี 2019 บัตรมีราคา 248 ปอนด์ ซึ่งแพงขึ้นจากปี 1979 ถึง 50 เท่า หรืองาน Bestival ราคาบัตรแพงขึ้นถึง 124% ตั้งแต่การจัดงานครั้งแรกในปี 2004 บัตรราคา 85 ปอนด์ และในปี 2013 บัตรมีราคา 190 ปอนด์ เมื่อเทียบกับเทศกาลดนตรีในยุโรปที่มีราคาถูกกว่ามาก เช่น EXIT festival ในประเทศเซอร์เบีย ราคา 89 ปอนด์ Rosklide ในเดนมาร์ค ราคา 187 ปอนด์ สำหรับงาน 8 วัน Bilbao ในประเทศสเปน ราคา 96 ปอนด์ โดยที่รวมค่าเครื่องบินและการเดินทางทั้งหมดก็ยังถูกกว่าการไปงานเทศกาลดนตรีในอังกฤษ แถมยังรับประกันได้ถึงเรื่องของอากาศที่มีแดดจัด ไม่แปรปรวนแบบอังกฤษแน่นอน แต่ถึงแม้ว่าราคาบัตร Glastonbury จะสูงลิบลิ่วแค่ไหนก็ตาม บัตรจำนวน 135,000 ใบก็ยังถูกขายหมดอย่างรวดเร็วในเวลา 25 นาที กว่าหนึ่งเดือนก่อนที่ไลน์อัพจะถูกประกาศด้วยซ้ำ

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-1cb12811464db68e3c1dd41ba6a05f51' }}

ด้วยปัจจัยดังกล่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่า gig-goer เหล่านี้ ยินดีจะจ่ายเงินโดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ไลน์อัพหรือเฮดไลน์เนอร์ว่าศิลปินในปีนั้นๆ คือใคร พวกเขายินดีจ่ายเงินราคาแพงเพื่อซื้อประสบการณ์แห่งความสุขมากกว่าเสียเงินเพื่อซื้อสิ่งของที่จับต้องได้ เพราะความสุขจากประสบการณ์ที่คนเราได้รับนั้นมันจะเชื่อมโยง ‘เรา’ เข้ากับ ‘คนอื่น’ ได้ยาวนานกว่าสิ่งของ เราไปเพราะว่าอยากสัมผัสบรรยากาศในงาน เราถ่ายรูปเพื่อให้รู้ว่าเรามีตัวตนอยู่ในเทศกาลดนตรีนั้นๆ เราเซลฟี่เพื่อเป็นของที่ระลึกเหมือนที่เราไปเที่ยวตามชายหาด นั่นไม่ต่างกัน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “Experience Economy” โดยคำนี้ถูกกำหนดโดย Joseph B. Pine และ James H. Gilmore ในปี 1998 ซึ่งได้นิยามแนวคิดนี้ว่า “ธุรกิจจำเป็นจะต้องสร้างสิ่งที่สามารถแปรเป็นความทรงจำให้กับผู้บริโภคได้ และความทรงจำนั้นเองก็จะกลายเป็นสินค้าในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “ประสบการณ์”

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-bc3ce9111fd5ab0be5eb1de409eeace3' }}

ในส่วนของบ้านเราตอนนี้สถานการณ์เทศกาลดนตรียังไม่ชัดเจนนักเรื่องการขายประสบการณ์ แต่ที่ชัดเจนมากๆ ก็คืองาน Wonderfruit ที่ขายประสบการณ์ ไลฟ์สไตล์ แบบ hideaway และความ slow life ซึ่งเทศกาลดนตรีอื่นๆ ในไทย เช่น Maho Rasop หรือ Very festival ที่จะจัดขึ้นเร็วๆ นี้ยังไม่ได้มีคอนเซปท์แบบนี้เท่าไหร่นัก

{{ brizy_dc_image_alt uid='wp-78c57d27b72448521c131280dfd57489' }}

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทั้งความนิยมและความต้องการของผู้เข้าชมที่ส่งผลให้ต้องมีการเพิ่มทรัพยากรมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของตลาดดนตรีแบบกลับหัวที่มีระบบสตรีมมิ่งเข้ามาทำให้ศิลปินไม่สามารถทำเงินจาก physical records ได้อีกต่อไป การถูกครอบงำโดยบริษัทโปรโมเตอร์ยักษ์ใหญ่ ไปจนถึงการก้าวกระโดดของราคาบัตรเทศกาลที่เพิ่มขึ้นทุกปี และการขายประสบการณ์แบบ “Experience Economy” ต่างก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาบัตรนั้นมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกปีนั่นเอง

source : shorturl.at/ntwP2

https://www.youtube.com/watch?v=PMfkO3Pv4VQ

/ https://www.crunch.co.uk/knowledge/expertise/why-are-festival-tickets-so-expensive